หน่วยการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี
           เรื่อง "พลังงานกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี"

1. ข้อใดเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
การเผากระดาษ
การต้มน้ำให้เดือด
การหมักผลไม้
การย่อยอาหาร

2. ข้อใดเกิดปฏิกิริยาเคมี
การทำนาเกลือ
การเติมน้ำแข็งในน้ำอัดลม
การละลายกรดไฮโดรคลอริกกับน้ำ
การทำไวน์

3. ข้อใดไม่ใช่ปฏิกิริยาเคมี
จุดธูปไหว้พร
เติมน้ำตาลลงในกาแฟร้อน
บ่มมะม่วงให้สุก
อาหารบูดเนื่องจากอากาศร้อน

4. ข้อใดไม่เกิดปฏิกิริยาเคมี

การกินยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
การเติมปูนขาวลงในดินเปรี้ยว
การจุดเตาแก๊สหุงต้ม
การสกัดกลิ่นจากตะไคร้

5. การเปลี่ยนแปลงใดมีสารใหม่เกิดขึ้น
หลอมกำมะถันให้เป็นของเหลว      
คั้นมะพร้าวให้ได้น้ำกะทิ
การย่อยอาหารของมนุษย์
ตัดเหล็กเป็นรูปวงกลม

6. ข้อใดไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงทางเคมี
เผาเหล็กให้ร้อนจนหลอมเหลว
ใส่โลหะโซเดียมลงในน้ำ
ผสมกรดเกลือกับโซดาไฟ
วิตามินซีสลายตัวเมื่อถูกความร้อน

7. ข้อใดไม่ถูกต้อง
นำน้ำเกลือมาระเหยแห้งแล้วเกิดคราบเกลือเกิดขึ้น ไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมี          
โลหะแมกนีเซียมทำปฏิกิริยากับกรดเกิดฟองแก๊สขึ้น เป็นการเปลียนแปลงทางเคมี
สารสองชนิดผสมกันแล้วเกิดการตกตะกอน เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
ละลายโซดาไฟในน้ำแล้วมีอุณหภูมิสูงขึ้น เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเคมีแบบคายความร้อน

8. ข้อใดกล่าวถึงการเกิดปฏิกิริยาเคมีไม่ถูกต้อง
ต้องมีสารใหม่เกิดขึ้น
ต้องมีการเปลี่ยนสถานะของสารเสมอ
มีทั้งการดูดพลังงานและคายพลังงาน
ถ้าเป็นระบบปิดจะเป็นไปตามกฎทรงมวล

9. ข้อใดไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าเกิดปฏิกิริยาเคมี
การตกตะกอน
การเกิดฟองแก๊ส
การเกิดความร้อน
การเปลี่ยนสี

ใช้สมการต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 10-13
      HCl(ag) + NaOH(aq) NaCl(aq) + H2O(l)

10. สารตั้งต้นของปฏิกิริยานี้ได้แก่สารใด

HCl
NaOH
HCl + NaOH
NaCl + H2O

11. ผลิตภัณฑ์ของปฏิกิริยานี้ได้แก่สารใด
HCl
NaOH
HCl + NaOH
NaCl + H2O

12. เมื่อดุลสมการนี้ให้ถูกต้องเลขสัมประสิทธิ์ข้างหน้า HCl ควรเป็นเท่าไร

1
2
3
4

13. NaCl หรือโซเดียมคลอไรด์ที่เกิดขึ้นมีสถานะตามข้อใด
ของแข็ง
ของเหลว
แก๊ส
สารละลาย

14. เมื่อนำสังกะสี (Zn) มาทำปฏิกิริยากับกรดเกลือ (NaCl) จะได้ผลิตภัณฑ์เป็นซิงค์คลอไรด์ (ZnCl2) และแก๊สไฮโดรเจน (H2) เขียนเป็นสมการเคมีได้ตามข้อใด
Zn(s) + 2HCl(l)     ZnCl2(l) + H2(g)
Zn(s) + 2HCl(l)     ZnCl2(aq) + H2(g)
Zn(s) + 2HCl(aq) ZnCl2(aq) + H2(g)
Zn(s) + 2HCl(aq) ZnCl2(l) + H2(g)

15. ถ้านำน้ำตาลทรายมาเผาจะเขียนเป็นสมการได้ตามข้อใด
C6H12O6(s) + 6O2(g)    6CO2(g) + 6H2O(g)
C6H12O6(s) + 12O2(g) 12CO2(g) + 11H2O(g)
C12H22O11(s) + 6O2(g   ) 6CO2(g) + 6H2O(g)
C12H22O11(s) + 12O2(g   ) 12CO2(g) + 11H2O(g)

16. ข้อใดคือสมการเคมีแสดงปฏิกิริยาเคมีระหว่างหินปูนกับกรดซัลฟิวริกทำให้เกิดแคลเซียมซัลเฟต น้ำ และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
CaCO3(s) + H2SO4(aq) CaSO4(aq) + H2O(l) + CO2(g)
CaCO3(s) + H2SO4(aq) CaSO4(aq) + H2O(l) + CO(g)
CaCl2(s) + H2SO4(aq) CaSO4(aq) + H2O(l) + CO2(g)
CaCl2(s) + H2SO4(aq) CaSO4(aq) + H2O(l) + CO(g)

17. จากสมการ A + B CO2(g) นักเรียนคิดว่าสาร A และ B คือสารใด ตามลำดับ
คาร์บอนและแก๊สออกซิเจน
คาร์บอนและน้ำ
คาร์บอนและกรด
คาร์บอนและเบส

18. ข้อใดดุลสมการได้ถูกต้อง
Al(s) + O2(g) Al2O3(s)
2Al(s) + O2(g) Al2O3(s)
2Al(s) + 3O2(g) Al2O3(s)
4Al(s) + 3O2(g) 2Al2O3(s)

19. X + กรด สาร + H2O + CO2 จากสมการ สาร X ควรเป็นสารใด
เบส
โลหะ
น้ำ
หินปูน

20. โลหะ + Y สาร A + แก๊สไฮโดรเจน จากสมการสาร Y ควรเป็นสารใด
กรด
น้ำ
อโลหะ
แก๊สออกซิเจน        


Score =
Correct answers:

จัดทำโดย : ครูเสกสรรค์ สุวรรณสุข