หน่วยการเรียนรู้ ระบบต่างๆ ของมนุษย์
    เรื่อง "ระบบหายใจ (Respiratory System) "

 1. กระบวนการแลกเปลี่ยนแก๊สเกิดขึ้นที่บริเวณใด
จมูก
หลอดลม
ขั้วปอด
ถุงลม

2. ปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มีผลต่ออัตราการหายใจหรือไม่ อย่างไร
มี เพราะถ้าปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สูงจะทำให้หายใจช้าลง
มี เพราะถ้าปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สูงจะทำให้หายใจเร็วขึ้น
ไม่มี เพราะปริมาณแก๊สที่เกี่ยวข้องกับอัตราการหายใจ คือแก๊สออกซิเจน
ไม่มี เพราะปริมาณแก๊สที่เกี่ยวข้องกับอัตราการหายใจ คือแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์

3. กระบวนการใดที่ทำให้ร่างกายเผาผลาญอาหารแล้วได้พลังงาน
การหายใจโดยระบบทางเดินหายใจ
การหายใจระดับเซลล์
การดูดซึมอาหารของระบบย่อยอาหาร
การหมุนเวียนเลือดของระบบหมุนเวียนเลือด

4. ข้อใดคือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเผาผลาญอาหารภายในเซลล์
น้ำตาลกลูโคส
แก๊สออกซิเจน
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และพลังงาน

5. เมื่อปริมาณออกซิเจนในเลือดน้อย ร่างกายจะมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างไร
ไอ
หาว
จาม
สะอึก

6. เมื่อร่างกายหายใจเอาอากาศที่ไม่สะอาด หรือมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไป ร่างกายจะพยายามขับสิ่งแปลกปลอมออก
ด้วยวิธีการใด

ไอ
หาว
จาม
สะอึก

7. ข้อใดกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างกะบังลมกับกระดูกซี่โครงได้ถูกต้อง
เมื่อหายใจเข้า กะบังลมจะเลื่อนสูงขึ้นและกระดูกซี่โครงเลื่อนต่ำลง
เมื่อหายใจเข้า กะบังลมจะเลื่อนต่ำลงและกระดูกซี่โครงเลื่อนสูงขึ้น
เมื่อหายใจเข้า กะบังลมและกระดูกซี่โครงจะเลื่อนสูงขึ้น
เมื่อหายใจเข้า กะบังลมและกระดูกซี่โครงจะเลื่อนต่ำลง

8. ระบบหายใจทำงานเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับระบบใดมากที่สุด
ระบบน้ำเหลือง
ระบบประสาท
ระบบขับถ่าย
ระบบหมุนเวียนเลือด

9. การสูบบุหรี่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจอย่างไร
ทำให้โรคถุงลมโปร่งพอง
ทำให้ผนังหลอดลมหนาและตีบ
เนื้อเยื่อบริเวณถุงลมถูกทำลาย
ถูกต้องทุกข้อ

คำชี้แจง : จากภาพตอบคำถามข้อ 10


10. เมื่อดึงแผ่นยางลงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงกับลูกโปร่งอย่างไรและเปรียบเทียบได้กับการหายใจอย่างไร

ลูกโปร่งหดตัวและเปรียบได้กับการหายใจเข้า
ลูกโปร่งหดตัวและเปรียบได้กับการหายใจออก
ลูกโปร่งพองตัวและเปรียบได้กับการหายใจเข้า
ลูกโปร่งพองตัวและเปรียบได้กับการหายใจออก

11. ข้อใดคือความหมายของกระบวนการหายใจ
กระบวนการที่แก๊สออกซิเจนเข้าทำปฏิกิริยากับสารอาหาร
กระบวนการเพิ่มแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าทำปฏิกิริยากับสารอาหาร
กระบวนการที่แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เข้าทำปฏิกิริยากับสารอาหาร
กระบวนการที่แก๊สไฮโดรเจนเข้าทำปฏิกิริยากับสารอาหาร

12. อวัยวะใดเกี่ยวข้องกับระบบหายใจ
ปาก จมูก ปอด
คอหอย กล่องเสียง หลอดลม
จมูก หลอดอาหาร หัวใจ
รูจมูก กล่องเสียง กระเพาะอาหาร

13. บริเวณที่พบกันระหว่างช่องอาหารกับช่องอากาศ คือสิ่งใดต่อไปนี้
จมูก
หอคอย
กล่องเสียง
หลอดลม

14. ตัวการใดที่กำหนดอัตราการหายใจเข้าออกของระบบหายใจมนุษย์
ปริมาณแก๊สออกซิเจน
ปริมาณแก๊สไนโตรเจน
ปริมาณแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์
ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

15. การแลกเปลี่ยนแก๊สเกิดขึ้นบริเวณที่มักเรียกว่า "air sac" หมายถึงอวัยวะใดต่อไปนี้
alveoli
alveolar ducts
bronchi
bronchioles

16. จากสมการ แสดงการเกิดกระบวนการหายใจต่อไปนี้ จงหาคำตอบมาเติมในที่ว่างให้สมบูรณ์

     glucose + oxygen = ........................ + water + CO2
starch
sucrose
energy
glycogen

17. ส่วนใดของกระบวนการหายใจที่รู้จักกันในชื่อของ voice box
larynx
pharynx
trachea
epiglottis

18. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง
อัตราการหายใจปกติในผู้ใหญ่ประมาณ 16-18 ครั้งต่อนาที
การหายใจเข้าทางปากมีประสิทธิภาพไม่ดีเท่ากับการหายใจเข้าทางจมูก
การหายใจเข้าและการหายใจออกจัดเป็นการหายใจแบบ external respiration
ปอดประกอบด้วยเยื่อหุ้มปอด 2 ชั้นบางๆ เรียกว่า pericardium

ใช้ข้อความต่อไปนี้ ตอบคำถามข้อ 19
1. กะบังลมเลื่อนต่ำลง                   2. กระดูกซี่โครงเลื่อนต่ำลง
3. ปอดแฟบ                                 4. ปริมาตรในอกเพิ่มขึ้น
5. ความดันในช่องอกลดลง            6. ความดันในช่องอกเพิ่มขึ้น

19. การหายใจเข้า เกิดขึ้นตามผลข้อใด

1, 2, 3
3, 4, 5
1, 4, 5
2, 3, 4

20. ข้อใดมีความสัมพันธ์กันในขณะนอนหลับการหายใจจะช้าลง
ความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
ความเข้มข้นของแก๊สออกซิเจนในเลือดมาก
เลือดมีความเข้มข้นมากน
สภาพร่างกายมีน้ำหนักน้อย                       


Score =
Correct answers:

จัดทำโดย : ครูเสกสรรค์ สุวรรณสุข