หน่วยการเรียนรู้ สารละลาย (Solution)
        เรื่อง "
สารละลาย"

 1. ข้อใดจัดเป็นสารละลาย
น้ำส้มสายชู น้ำมันเบนซิน
ทองคำ แก๊สหุงต้ม
โซดาไฟ ทองคำขาว
ปรอท นาก

2. ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพละลายได้ของสาร A ในน้ำ 100 g กับอุณหภูมิเป็นดังกราฟ

กราฟความสัมพันธ์ระหว่างสภาพละลายได้ของสาร A ในน้ำ 100 กรัม กับอุณหภูมิ
ถ้านำสาร A มวล 7 กรัม มาละลายในน้ำ 25 ลูกบาศก์เซนติเมตร ที่อุณหภูม 40 องศาเซลเซียส
จะสาร A ที่ไม่ละลายน้ำหรือไม่ ถ้าเหลือสาร A จะเหลือกี่กรัม

ไม่เหลือสาร A
เหลือสาร A อยู่ 3 กรัม
เหลือสาร A อยู่ 4 กรัม
เหลือสาร A อยู่ 12 กรัม

3. จงหาปริมาณน้ำของสารละลายเกลือเข้มข้น 40% w/v จำนวน 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร
(กำหนดให้สารละลายมีความหนาแน่น 1.5 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร)

20 g
40 g
55 g
75 g

ใช้ข้อมูลต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 4-6
กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างสภาพละลายได้ของสาร B และ C ในน้ำ 100 กรัม กับอุณหภูมิ

กราฟความสัมพันธ์ระหว่างสภาพละลายได้ของสาร B และ C ในน้ำ 100 กรัม กับอุณหภูมิ
ถ้าละลายสาร B และ C อย่างละ 40 กรัม ลงในน้ำ 200 กรัม จงตอบคำถามต่อไปนี้
4. ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส จะเหลือสาร B และ C ที่ไม่ละลายน้ำอย่างละกี่กรัมตามลำดับ

5 และ 14
10 และ 28
30 และ 12
35 และ 26

5. ที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส จะเหลือปริมาณสารที่เป็นของแข็งรวมทั้งหมดกี่กรัม
16
32
48
64
6. ถ้าขณะนี้อุณหภูมิอยู่ที่ 30 องศาเซลเซียส ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างไร
เพื่อให้เหลือสาร B เพียงชนิดเดียวที่ไม่ละลายน้ำ

เพิ่มอุณหภูมิอีก 95 องศาเซลเซียส
เพิ่มอุณหภูมิอีก 65 องศาเซลเซียส
ลดอุณหภูมิอีก 7.5 องศาเซลเซียส
ลดอุณหภูมิอีก 22.5 องศาเซลเซียส

7. สารละลายน้ำตามกลูโคสเข้มข้น 20% โดยมวลต่อปริมาตร จำนวน 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร
เมื่อตั้งทิ้งไว้ น้ำระเหยไป 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร ถ้าเติมน้ำตาลลงไปอีก 10 กรัม และเติมน้ำ
ลงไปอีก 200 ลูกบาศก์เซนติเมตร จงหาความเข้มข้นของสารละลายใหม่ที่ได้

8.5% w/v
15% w/v
24% w/v
50% w/v

8. "โฟมเป็นพลาสติกชนิดหนึ่งที่ไม่ละลายน้ำ แต่เมื่อสัมผัสกับทินเนอร์ น้ำมันหอมระเหย
หรือน้ำมันที่ร้อนจากของทอดที่พึ่งทอดเสร็จใหม่ๆ โฟมจะเกิดการละลาย ซึ่งสามารถสังเกต
ได้จากการยุบตัวของโฟมหรือเกิดรูที่โฟมขึ้น"
จากข้อความข้างต้น ปัจจัยใดส่งผลต่อการละลายของโฟม

ชนิดตัวละลาย และอุณหภูมิ
ชนิดตัวทำละลาย และอุณหภูมิ
ชนิดตัวละลาย และชนิดตัวทำละลาย             
ชนิดตัวละลาย ชนิดตัวทำละลาย และอุณหภูมิ

9. ที่อุณหภูมิห้อง น้ำปริมาตร 200 ลูกบาศก์เซนติเมตร ละลายสาร A ได้ 40 กรัม
หากนำน้ำมาเพียง 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร จะสามารถละลายสาร A ได้กี่กรัม ที่อุณหภูมิห้องเดียวกัน

10 g
15 g
20 g
25 g

10. ถ้ามีโซเดียมไนเตรต 91 กรัม และน้ำ 400 ลูกบาศก์เซนติเมตร จะสามารถเตรียมสารละลาย
โซเดียมไนเตรตเข้มข้นร้อยละ 27 โดยมวลต่อปริมาตร จำนวน 350 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ได้หรือไม่ อย่างไร

เตรียมได้ โดยใช้โซเดียมไนเตรตหมดพอดี
เตรียมได้ โดยมีโซเดียมไนเตรตเหลือ
เตรียมไม่ได้ เพราะมีน้ำไม่เพียงพอ
เตรียมไม่ได้ เพราะมีโซเดียมไนเตรตไม่เพียงพอ

11. สารละลายอิ่มตัว ณ อุณหภูมิหนึ่งๆ หากต้องการทำให้ไม่อิ่มตัว ต้องทำอย่างไร
ลดความดันของระบบ
เพิ่มปริมาณตัวถูกละลาย
ลดอุณหภูมิ
เพิ่มอุณหภูมิ

12. ถ้านักเรียนมีกลูโคส 36 กรัม จะสามารถเตรียมสารละลายกลูโคสร้อยละ 8 โดยมวลต่อปริมาตร
ได้มากที่สุดจำนวนกี่ลูกบาศก์เซนติเมตร

350
400
450
500

13. จากการสังเกตผลการละลายของสารทั้ง 4 ชนิดในน้ำ และกลายเป็นสารละลายอิ่มตัวดังนี้
1) สาร A ละลายในน้ำเย็นได้ดีกว่าน้ำร้อน
2) สาร B ละลายในน้ำร้อนได้ดีกว่าน้ำเย็น
3) สาร C เมื่อเกิดการละลายจำทำให้สารละลายเย็นตัวลง
4) สาร D เมื่อละลายจะทำให้สารร้อนขึ้น
การละลายของสารชนิดใดเป็นปฏิกิริยาดูดความร้อน

A , B
B , C
A , C
C , D

14. นำสาร W จำนวน 70 กรัม มาละลายน้ำ 150 กรัม ที่ 28 องศาเซลเซียส พบว่าสาร W ละลายไม่หมด
เมื่อกรองตะกอนสาร W ทำให้แห้ง และชั่งตะกอนได้มวล 34 กรัม ถ้านำสาร W จำนวน 170 กรัม
มาละลายน้ำ 500 กรัม ที่อุณหภูมินี้ การละลายจะเป็นอย่างไร

ละลายหมด แต่สารละลายยังไม่อิ่มตัว
ละลายหมด และสารละลายอิ่มตัวพอดี
ละลายไม่หมด และเหลือสาร W จำนวน 50 กรัม
ละลายไม่หมด และเหลือสาร W จำนวน 70 กรัม

15. แก๊สละลายน้ำได้ดีที่สุดในสภาวะใด
ความดันต่ำ อุณหภูมิต่ำ
ความดันต่ำ อุณหภูมิสูง
ความดันสูง อุณหภูมิต่ำ
ความดันสูง อุณหภูมิสูง

16. ถ้าใช้จุลสีทั้งหมด 60 กรัม จะสามารถเตรียมสารละลายจุนสีที่มีความเข้มข้นและปริมาตร
เท่าไรได้บ้าง

ร้อยละ 20 โดยมวลต่อปริมาตร จำนวน 150 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ร้อยละ 24 โดยมวลต่อปริมาตร จำนวน 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ร้อยละ 45 โดยมวลต่อปริมาตร จำนวน 120 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ร้อยละ 50 โดยมวลต่อปริมาตร จำนวน 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร

17. การละลายของสาร จะสามารถละลายได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยใดบ้าง
1) อุณหภูมิ 2) ชนิดของสาร 3) ความดันบรรยากาศ 4) สิ่งแวดล้อม

1 และ 2
2 และ 3
1 และ 3
3 และ 4

18. สารละลายเกลือแกงเข้มข้น 10% w/w จำนวน 200 g เติมเกลือลงไปอีก 15 g และเติมน้ำ
จนสารละลายหนัก 300 g ความเข้มข้นใหม่ในหน่วย % w/w มีค่าเป็นอย่างไร

ลดลงจากเดิม
เท่าเดิม
เพิ่มขึ้น
ข้อมูลไม่เพียงพอ

19. ถ้านำเกลือแกงไปละลายน้ำ คนให้ละลายจนหมด แล้วคนต่อไปพร้อมกันเติมเกลือแกงเพิ่ม
จนไม่สามารถละลายได้อีก เรียกสภาวะเช่นนี้ว่าอย่างไร

การอิ่มตัว
การควบแน่น
การละลายยิ่งยวด
การระเหย

20. จงหาน้ำหนักของสารละลายกรดซัลฟิวริกเข้มข้น 50% w/w ที่ได้จากการเตรียม โดยใช้
สารตั้งต้นกรดซัลฟิวริกหนัก 150 g

50 g
100 g
200 g
300 g         


Score =
Correct answers:

จัดทำโดย : ครูเสกสรรค์ สุวรรณสุข