1. สาหร่ายหางกระรอกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรเมื่ออยู่ในสารละลายไฮโพโทนิก
เซลล์ไม่เปลี่ยนแปลง
เซลล์เต่งมากจนเซลล์แตก
เซลล์เต่งเต็มที่แต่ไม่แตก
เซลล์เหี่ยว เยื่อหุ้มเซลล์แยกออกจากผนังเซลล์

2. เหตุผลข้อใดถูกต้องที่สุดของแม่ค้าขายผักที่ต้องฉีดน้ำพรมผักอยู่เรื่อย ๆ
ป้องกันไม่ให้ผักเน่า
ช่วยลดความร้อน
ต้องการให้น้ำออสโมซิสออกจากเซลล์ผัก
ช่วยให้น้ำออสโมซิสเข้าเซลล์ผักและเซลล์เต่ง

3. ถ้านักเรียนต้องการศึกษาโครงสร้างของผนังเซลล์ชัดเจนต้องให้เซลล์อยู่ในสารละลายอย่างไร
ให้เซลล์อยู่ในน้ำกลั่น
ให้เซลล์อยู่ในสารละลายโซเดียมคลอไรด์ 3%
ให้เซลล์อยู่ในสารละลายโซเดียมคลอไรด์ 1%
ให้เซลล์อยู่ในสารละลายโซเดียมคลอไรด์ 0.85%

4. ถ้าต้องการให้เกิดปรากฏการณ์พลาสมอปไทซิส (plasmoptysis) ต้องให้เซลล์อยู่ในสารละลายอย่างไร
ให้เซลล์อยู่ในน้ำกลั่น
ให้เซลล์อยู่ในสารละลายโซเดียมคลอไรด์ 0.85%
ให้เซลล์อยู่ในสารละลายโซเดียมคลอไรด์ 2%
ให้เซลล์อยู่ในสารละลายโซเดียมคลอไรด์ 5%

5. เซลล์เม็ดเลือดแดงอยู่ในสารละลายใดจึงจะคงสภาพเดิมอยู่ได้
สารละลายโซเดียมคลอไรด์ 0.5%
สารละลายโซเดียมคลอไรด์ 0.85%
สารละลายโซเดียมคลอไรด์  5%
สารละลายที่มีเฉพาะโมเลกุลของน้ำอย่างเดียว

6. แรงต้านของผนังเซลล์ (wall pressure) มีประโยชน์ต่อพืชอย่างไร
ช่วยให้การลำเลียงสารของพืชเกิดได้ดี
ป้องกันไม่ให้เซลล์พืชสูญเสียแร่ธาตุออกจากเซลล์
ป้องกันไม่ให้เซลล์สูญเสียน้ำออกจากเซลล์
เป็นแรงต้านไม่ให้เซลล์แตกหรือเหี่ยวเสียรูปทรง

7. ถ้าน้ำเกลือที่ให้คนไข้มีความเข้มข้น 0.1% จะมีผลต่อคนไข้อย่างไร

ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเหี่ยว
ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเต่งแต่ไม่แตก
ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเต่งจนแตกได้
ทำให้น้ำออสโมซิสเข้าและออกจากเซลล์เม็ดเลือดแดงเท่ากัน

8. เมื่อนำเซลล์พืชใส่ลงในน้ำกลั่นจะเกิดการเปลี่ยนแปลงกับเซลล์อย่างไร
เซลล์บวมและแตกออก
เซลล์บวมขึ้นเพราะมีแรงดันเต่งแต่เซลล์ไม่แตก
เซลล์สูญเสียน้ำและเหี่ยวแฟบลง
เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผนังเซลล์ทำให้น้ำเข้า-ออกจากเซลล์ไม่ได้

9. นายอองดิน เด็ดใบสาหร่ายหางกระรอก 1 ใบวางลงบนสไลด์ที่มีสารละลายกลูโคส 5% แล้วนำไปศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์จะพบการเปลี่ยนแปลงตามข้อใด

เกิดปรากฏการณ์พลาสโมไลซิส
เกิดปรากฏการณ์พลาสมอปไทซิส
เกิดปรากฏการณ์ฮีโมไลซิส
เกิดปรากฏการณ์เซลล์เต่ง

10. เหตุใดเมื่อน้ำออสโมซิสเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดงมากเซลล์จึงแตก
เพราะเยื่อหุ้มเซลล์เปราะบาง
เพราะเกิดแรงดันเต่งในเซลล์มาก
เพราะไม่มีแรงดันต้านจากผนังเซลล์
ถูกทั้งข้อ ก, ข และ ค

11. เซลล์เม็ดเลือดแดงของคนจะมีแรงดันเต่งสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออยู่ในสารละลายในข้อใด
น้ำกลั่น
น้ำเกลือ 10%
น้ำเชื่อม 5%
น้ำเกลือ 0.85%

12. ข้อใดจะเกิดกระบวนการพลาสมอปไทซิส ( Plasmoptysis )
เซลล์เยื่อหอมในสารละลายน้ำตาลกลูโคสี
เซลล์เยื่อหอมในน้ำกลั่น
เซลล์ว่านกาบหอยในน้ำเกลือ
เซลล์ว่านกาบหอยในน้ำเชื่อม

13. ข้อใดหมายถึง แรงดันออสโมติก
แรงดันในสาร  เพื่อต้านการเคลื่อนที่ของน้ำ
แรงดันของน้ำที่เกิดขึ้นภายในเซลล์อันเนื่องจากน้ำแพร่เข้าไป
อัตราการไหลของน้ำ เข้าและออกจากเซลล์มีอัตราเท่ากัน
แรงดันที่ทำให้เซลล์คงรูปร่างอยู่ได้ ยอดพืชตั้งตรง

14. สารละลายข้อใดมีแรงดันออสโมติกสูง
น้ำฝน
น้ำกลั่น
สารละลายกลูโคส 5%
สารละลายกลูโคส 1%

15. เมื่อนักเรียนนำต้นผักกะสังแช่ในสารละลายกลูโคส5% จะพบผลการทดลองตามข้อใด
ต้นผักกะสังเต่งคงรูปร่างอยู่ได้
ต้นผักกะสังจะเหี่ยวเพราะสูญเสียน้ำ
ต้นผักกะสังจะเหี่ยวระยะแรกต่อมาจะเต่งตั้งตรง
ต้นผักกะสังไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น

16. ข้อใดแสดงถึงภาวะสมดุลของการแพร่
การแพร่ของน้ำเข้าสู่เซลล์มากกว่าน้ำออกจากเซลล์
การแพร่ของน้ำออกจากเซลล์มากกว่าน้ำเข้าเซลล์์
แรงดันออสโมซิสของสารละลายเท่ากับแรงดันเต่งต่ำสุด
การแพร่ของน้ำเข้าสู่เซลล์และออกจากเซลล์มีอัตราเท่ากัน

17. นักเรียนคิดว่าข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของแรงดันเต่ง (Turgor pressure)
ทำให้น้ำแพร่เข้าเซลล์ได้มากขึ้น
ทำให้ยอดพืชตั้งตรง
ทำให้ปากใบเปิดกว้างออก
ทำให้ผัก, ผลไม้กรอบน่ารับประทาน

18. การที่หยดน้ำเกลือ 0.85% ลงบนสไลด์ เยื่อบุข้างแก้มของคนนั้นกระทำเพื่อจุดประสงค์ใด
ช่วยให้เซลล์ติดไอโอดีนชัดเจนขึ้น
ทำให้นิวเคลียสเต่ง มองเห็นได้ชัดเจน
รักษาสภาพของเซลล์ให้ปกติไม่เปลี่ยนรูปร่าง
ช่วยให้เซลล์แยกเป็นเซลล์เดี่ยว ๆ ได้รวดเร็ว

19. เมื่อนำสาหร่ายเทาน้ำ (spirogyra) แช่ลงในน้ำปะปา พบว่าเซลล์ของเทาน้ำจะเต่งขึ้นมา กระบวนการเริ่มแรกที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์เช่นนี้ คือ
การแพร่
ออสโมซิส
พลาสโมไลซิส
แรงดันเต่ง (Turgor pressure)

20. ถ้าความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์เม็ดเลือดแดง เท่ากับ 0.9 M สารละลายใดต่อไปนี้จะทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเกิด Haemolysis
0.2 M
0.9 M
1.6 M
3.0 M


Score =
Correct answers:

จัดทำโดย : ครูเสกสรรค์ สุวรรณสุข