หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 อาหารกับการดำรงชีวิต
 
 
 
สารเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
      จากการศึกษาองค์ประกอบที่สำคัญในสิ่งมีชีวิตพบว่า ธาตูคาร์บอน (C) ธาตุไฮโดรเจน (H) และธาตุออกซิเจน (O) ธาตูองค์ประกอบหลัก
จำนวนมากในโครงสร้างสิ่งมีชีวิต ทั้งนี้ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ดังนี้
1) สารอนินทรีย์ (Inorganic substance) คือ สารประกอบที่ไม่มีธาตุ (C) เป็นองค์ประกอบ เช่น น้ำและเกลือแร่ต่าง ๆ
2) สารอินทรี (Organic substance) คือ สารประกอบที่มีธาตุ C และ H เป็นองค์ประกอบ โดยสารอินทรีย์ที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิต จะอยู่ในรูปสารอินทรีย์โมเลกุลใหญ่ ที่เกิดจากมอนอเมอร์มาเรียงตัวกันซ้ำ ๆ เรียกว่า "สารชีวโมเลกุล (biomolecules)"

 
 
สารชีวโมเลกุล
หน่วยย่อย
คาร์โบไฮเดรต
น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (Monosaccharide) เช่น กลูโคส
โปรตีน
กรดอะมิโน (Amino acid)
ไขมัน
กรดไขมัน (Fatty acid) และ กลีเซอรอล (Glycerol)
นิวคลีโอไทด์
กรดนิวคลีอิก (Nucleic acid) ได้แก่ DNA หรือ RNA
 
 
 
        อาหาร (Food) คือ สิ่งที่รับประทานได้ ไม่เป็นพิษ และก่อให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกาย ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต แข็งแรง
มีความต้านทานโรค เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ไข่ดาว หมูทอดกระเทียมพริกไทย ขนมปัง ผลไม้

        สารอาหาร (Nutrient) คือ สารเคมีต่างๆ ที่อยู่ในอาหารที่เรากินเข้าไป สารอาหารมีโครงสร้างโมเลกุลเฉพาะตัว อาหารแต่ละชนิด
ประกอบด้วยสารอาหารหลายอย่าง ร่างกายมนุษย์ต้องการสารอาหารกว่า 40 อย่าง แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ
        1. สารอาหารที่ให้พลังงาน ได้แก่ โปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต
        2. สารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน ได้แก่ วิตามิน เกลือแร่ และน้ำ


        1. สารอาหารที่ให้พลังงาน มีดังนี้
            1. คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) คือ สารประกอบอินทรีย์ซึ่งมีคาร์บอน (C) ,ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) เป็นองค์ประกอบ
มีสูตรทั่วไปเป็น